สายพันธุ์อะคันธามีบา (Acanthamoeba) ของ อะมีบา

พบครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 พบได้เกือบทั่วโลก ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และออสเตเรีย ในประเทศไทยมีการสำรวจพบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ในจังหวัดนครราชสีมาอะคันธามีบา ที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 7 species มีรูปร่างลักษณะ 2 ระยะ คือ Trophozoitte และ Cyst Trophozoitte มีขนาด 10-60 ไมครอน รูปร่าง ไม่แน่นอน มี pseudopod หรือ ขาเทียม รูปร่าง คล้ายหนามยื่นออกมาทั่วตัว เคลื่อนที่ช้าCyst มีขนาด 10-25 ไมครอน รูปร่างค่อนข้างกลม มีผนังหุ้ม 2 ชั้น ผนังชั้นนอก ไม่เรียบเป็น รอยย่น ผนังชั้นในเป็นรูปหลายเหลี่ยม มุมที่ผนังชั้นในสัมผัส กับผนังชั้นนอก จะเป็นตำแหน่งรูปเปิดของ Cyst ดำรงชีวิตเป็นอิสระในน้ำ ดิน โคลนเลน เจริญเติบโต ได้ดีที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป รวมทั้งน้ำกร่อย และน้ำทะเล เข้าสู่ทางร่างกาย โดยผ่านทางผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิด โรคที่ผิวหนัง ตาอักเสบ การติดเชื้อที่ไซนัส ส่วนการติดเชื้อที่สมอง เชื่อว่าเชื้อ มาตามกระแสเลือด มักติดเชื้อในผู้ที่สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ส่วนในผู้ที่สุขภาพ แข็งแรงมีอาการติดเชื้อได้น้อย ระยะฟักตัวของโรคนี้ ไม่แน่นอน อาจนานกว่า 10 วัน หรือเรื้อรังนานเป็นเดือน การติดเชื้อเป็น แบบกึ่งเฉียบพลันหรือเรื้อรัง อาการเริ่มแรก คล้ายกับอาการของไข้หวัด มีเจ็บคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และอาการของ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ต่อมาอาการคล้ายโรคฝีหรือเนื้องอกในสมองได้แก่ ชัก สับสน ประสานหลอน มึนงง ง่วงซึม และถึงแก่กรรม หลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 3 สัปดาห์การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจจากน้ำไขสันหลัง หรือการตรวจพยาธิวิทยา จากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการตรวจหาแอนตี้บอดี้ ในรายที่มีการติดเชื้อที่ตา หรืออวัยวะอื่น ๆ ควรรีบให้การรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สมอง ผู้ที่ใช้คอนแทกเลนส์ ควรทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว และไม่ควรใส่คอนแทกเลนส์ในขณะว่ายน้ำ ถึงแม้ว่าอะมีบาจะไม่ใช่โรคติดต่อและโอกาสที่จะติดเชื้อจนถึงขั้นเสียชีวิตมีน้อย แต่ก็ไม่ควรประมาทเพราะหากได้รับเชื้ออะมีบาแล้ว โอกาสที่จะรอดมีน้อยมาก